วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 บุคคลสำคัญ

ประวัติบุคคลสำคัญของไทย

สมัยรัตนโกสินทร์

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระนามเดิมว่า ด้วง ประสูติในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๒๗๙ พระบิดามีพระนามเดิมว่า ทองดี พระมารดาชื่อ หยก
เมื่อทรงมีพระชันษา ๒๑ พรรษา ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ๓ เดือน เมื่อลาสิกขาก็ทรงเข้ารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ครั้นถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศทรงได้รับตำแหน่งเป็นหลวงยกกระบัตร ประจำเมืองราชบุรี พระองค์ทรงมีความชำนาญในการรบอย่างยิ่ง จึงได้รับพระราชทานปูนกำเหน็จความดีความชอบให้เลื่อนเป็นพระราชวรินทร์ พระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยายมราชว่าที่สมุหนายก เจ้าพระยาจักรี และในที่สุดได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก มีเครื่องยศอย่างเจ้าต่างกรม เมื่อทรงตีได้เวียงจันทร์ พระองค์ได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) จากเมืองจันทน์มายังกรุงธนบุรีด้วย ต่อมาเกิดเหตุจลาจลได้สำเร็จ ข้าราชการและประชาชนจึงอัญเชิญเป็นพระมหากษัตริย์แทนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช



พระราชกรณียกิจ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเป็นทั้งนักปกครองและนักการทหารที่ยอดเยี่ยม ทรงแต่งตั้งให้เจ้านายที่เคยผ่านราชการทัพศึกมาทำหน้าที่ช่วยในการปกครองบ้านเมืองโปรดเกล้าฯ
- ให้ชำระกฎหมายให้สอดคล้องกับยุคสมัยของบ้านเมือง คือ กฎหมายตราสามดวง
- รวมถึงการชำระพระพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์อันเป็นเครื่องส่งเสริมความมั่นคงของกรุงรัตนโกสินทร์
- นอกจากนี้พระองค์ยังคงทรงส่งเสริมวัฒนธรรมของชาติ ทั้งด้านวรรณกรรมที่ทรงแสดงพระปรีชาสามารถในการประพันธ์ โดยพระราชนิพนธ์ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ บทละครเรื่องอุณรุท บทละครเรื่องอิเหนา บทละครเรื่องดาหลัง เพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง นอกจากด้านวรรณกรรมแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชยังทรงส่งเสริมศิลปะด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และนาฏกรรม
- ภายหลังที่ครองกรุงรัตนโกสินทร์เพียง ๓ ปี ได้เกิดศึกพม่ายกทัพมาตีเมืองไทย พระองค์ทรงจัดกองทัพต่อสู้จนทัพพม่าแตกพ่าย ยังความเป็นเอกราชให้กับแผ่นดินไทยมาจนทุกวันนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นต่อพสกนิกรชาวไทย เป็น มหาราช อีกพระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ไทยและทรงเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ ที่ปกครองบ้านเมืองให้เกิดความสงบสุขจวบจนปัจจุบัน





พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ กับกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๗ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจะเสด็จสวรรคตนั้น พระองค์มิได้ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่เจ้านายพระองค์ใด ที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางผู้ใหญ่จึงปรึกษายกราชสมบัติให้แก่พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ฝ่ายเจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งทรงผนวชตามราชประเพณีก่อนพระราชบิดาสวรรคตไม่กี่วัน จึงได้ดำรงอยู่ในสมณเพศต่อไปถึง ๒๖ พรรษา ทำให้พระองค์มีเวลาทรงศึกษาวิชาการต่างๆ อย่างมากมาย โดยเฉพาะภาษาต่างประเทศ เป็นเหตุให้ทรงทราบเหตุการณ์โลกภายนอกอย่างกระจ่างแจ้ง ทั้งยังได้เสด็จธุดงค์จาริกไปนมัสการปูชนียสถานตามหัวเมืองห่างไกล ที่ทำให้ทรงทราบสภาพความเป็นอยู่ของราษฎรเป็นอย่างดี
เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต ที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางผู้ใหญ่จึงมีมติให้อัญเชิญเจ้าฟ้ามงกุฎขึ้นครองราชย์สมบัติ ในวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔ ขณะที่มีพระชนมายุได้ ๔๖ พรรษา

พระราชภารกิจที่สำคัญ
- การทำสนธิสัญญากับอังกฤษ เพื่อแลกกับเอกราชของประเทศ ยอมให้ตั้งสถานกงสุลและมีสิทธิสภาพนอกราชอาณาเขต ยอมเลิกระบบการค้าผูกขาดเป็นการค้าเสรี เก็บภาษีขาเข้าในอัตราร้อยชักสาม
- ทรงปรับปรุงการรักษาความมั่นคงของประเทศ มีการตั้งข้าหลวงปักปันพระราชอาณาเขตชายแดนด้านตะวันตกร่วมกับอังกฤษ ทรงจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวยุโรปมาสำรวจทำแผนที่พระราชอาณาเขตชายแดนด้านตะวันออก จ้างนายทหารยุโรปมาฝึกสอนวิชาทหารแบบใหม่ ทรงให้ต่อเรือกลไฟขึ้นใช้หลายลำและผลจากการทำสัญญากับอังกฤษทำให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองมาก
- พระองค์จึงขยายพระนครออกไปทางทิศตะวันออก ได้มีการขุดคลองและสร้างถนนขึ้นมากมาย เช่น คลองผดุงกรุงเกษม คลองภาษีเจริญ คลองดำเนินสะดวก ถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร
- ได้เกิดกิจการแบบตะวันตกขึ้นหลายอย่าง เช่น ใช้รถม้าเดินทาง มีตึกแบบฝรั่ง มีโรงสีไฟ โรงเลื่อยจักร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการรับชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการ ออกหนังสือราชกิจจานุเบกษา ตั้งโรงกษาปณ์ ฯลฯ - พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเสรีภาพในการนับถือศาสนา เพราะทรงเห็นว่าไม่มีผลต่อกิจการแผ่นดิน
- พระองค์ได้ทรงบัญญัติกฎหมายขึ้นเกือบ 500 ฉบับ ซึ่งเป็นกฎหมายที่เต็มไปด้วยมนุษยธรรม
- พระองค์ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ ทรงยอมรับวิชาการทางตะวันตกมาใช้ เช่น การถ่ายรูป การก่อสร้าง และงานเครื่องจักร เป็นต้น ทั้งยังทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านดาราศาสตร์ คือ ทรงคำนวณเวลาเกิดสุริยุปราคาหมดดวงในประเทศไทย ที่ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ได้ว่าจะเกิดขึ้นวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ เวลา ๑๐.๓๒ นาฬิกา เวลาดวงอาทิตย์มืดเต็มดวง คือ ๖ นาที ๔๖ วินาที และเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นจริงตามที่ทรงคำนวณไว้ทุกประการ
ในการเสด็จไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาครั้งนั้นทำให้พระองค์ประชวรด้วยไข้จับสั่นอย่างแรง และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ สิริพระชนมายุได้ ๖๔ พรรษา รวมเวลาครองราชย์ได้ ๑๗ ปีเศษ



พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว



พระราชประวัต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๔ และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงได้รับการศึกษาขั้นต้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อพระชนมายุ ๑๓ พรรษา ทรงเป็นกรมขุนพินิตประชานาถ เสวยราชย์เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑
ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง ๑๕ พรรษา โดยมีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน จนถึง พ.ศ. ๒๔๑๖ ทรงบรรลุนิติภาวะ พระชนมพรรษาครบ ๒๐ พรรษา จึงมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ ทรงครองราชสมบัติยาวนานถึง ๔๒ ปี สวรรคตเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓


พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
เพื่อให้ไทยเจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศและรอดพ้นจากภัยจักรวรรดินิยมที่กำลังคุกคามภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ขณะนั้น รัชกาลที่ 5 ทรงพัฒนาและปรับปรุงประเทศทุกด้าน เช่น

การปกครอง
ทรงปฏิรูปการปกครองใหม่ตามอย่างตะวันตก แยกการปกครองออกเป็น 3 ส่วน คือการปกครองส่วนกลาง แบ่งเป็นกระทรวงต่างๆ การปกครองส่วนภูมิภาคโดยระบบเทศาภิบาลและการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปสุขาภิบาล กฎหมายและการศาล
ให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมรับผิดชอบศาลยุติธรรม เป็นการแยกอำนาจตุลาการออกจากฝ่ายบริหารเป็นครั้งแรก ยกเลิกจารีตนครบาล
ที่ใช้วิธีโหดร้ายทารุณในการไต่สวนคดีความ ตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้น และประกาศใช้ประมวลกฎหมายลักษณะอาญาอันเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย การปรับปรุงกฎหมายและการศาลนี้เป็นลู่ทางที่ทำให้ประเทศไทยสามารถแก้ปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตได้ในภายหลัง

สังคมและวัฒนธรรม
ทรงยกเลิกระบบทาสและระบบไพร่ ให้ประชาชนมีอิสระในการดำรงชีวิต ยกเลิกประเพณีที่ล้าสมัย และรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา

การเงิน การธนาคารและการคลัง
ผลจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทำให้เศรษฐกิจการค้าขยายตัว มีชาวต่างประเทศเข้ามาทำกิจการในประเทศไทยมากขึ้น รัชกาลที่ ๕ จึงให้ออกใช้ธนบัตรและมีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่แน่นอนเป็นครั้งแรก ทรงอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ของต่างประเทศเข้ามาตั้งสาขาและสนับสนุนให้คนไทยตั้งธนาคารพาณิชย์ขึ้น ในด้านการคลัง มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรก และปรับปรุงระบบจัดเก็บภาษีอากรให้มีประสิทธิภาพขึ้น

สาธารณูปโภค
ทรงให้สร้างถนนเพิ่มเติม ขุดคลองใหม่และลอกคลองเดิม เพื่อใช้ในการคมนาคมและขยายพื้นที่เพาะปลูก ทรงริเริ่มให้จัดกิจการสาธารณูปโภคหลายอย่างขึ้นเป็นครั้งแรก เช่น รถไฟ รถราง โทรเลข ไปรษณีย์ โทรศัพท์ ไฟฟ้า ประปา การ

แพทย์และการสาธารณสุข
ทรงปรับปรุงกิจการด้านนี้ให้เป็นแบบสมัยใหม่ เช่น ตั้งโรงพยาบาลวังหลัง (ศิริราช) สภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดไทย) กรมสุขาภิบาล โรงเรียนสอนแพทย์ โรงเรียนผดุงครรภ์และพยาบาล เป็นต้น

การศึกษา
มีการสร้างโรงเรียนหลวง เพื่อให้การศึกษาแก่ราษฎรและทรงส่งพระราชโอรสและพระบรมวงศานุวงศ์ไปศึกษาต่างประเทศ จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาก็เพื่อฝึกคนให้มีความรู้สำหรับเข้ารับราชการ

การศาสนา
โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองสงฆ์ จัดตั้งสถานศึกษาสงฆ์ คือ มหามกุฏราชวิทยาลัย และให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก

การทหาร
ทรงปรับปรุงหน่วยทหารและอาวุธยุทธภัณฑ์ให้ทันสมัย ตั้งกรมยุทธนาธิการซึ่งภายหลังเปลี่ยนเป็นกระทรวงกลาโหม ตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบก โรงเรียนนายเรือ และตราพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหารขึ้นใช้เป็นครั้งแรก
ในการปรับปรุงพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ เนื่องจากในขณะนั้นคนไทยมีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิทยาการสมัยใหม่ยังมีน้อย รัชกาลที่ ๕ จึงต้องทรงจ้างชาวต่างประเทศเข้ามาเป็นที่ปรึกษาและรับราชการเป็นจำนวนมาก ส่งวนใหญ่เป็นชาวตะวันตก เช่น อังกฤษ อเมริกัน เยอรมัน ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก ที่เป็นชาวตะวันออกก็มีอยู่บ้าง เช่น ญี่ปุ่น ลังกา ปรากฏว่าชาวต่างประเทศที่จ้างมาทำงานได้ผลดีสร้างคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก บางคนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นถึงพระยา เจ้าพระยานอกจากนี้รัชกาลที่ 5 ยังทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศ โดยได้เสด็จประพาสสิงคโปร์ของอังกฤษและเกาะชวาอาณานิคมของฮอลันดา ต่อมาเสด็จประพาสอินเดียซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ทรงนำความเจริญของดินแดนเหล่านี้มาประกอบในการพัฒนาประเทศไทย
ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ รัชกาลที่ ๑ เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๑ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่าง ๆ กว่า ๑๐ ประเทศ เป็นผลดีต่อฐานะของประเทศไทยในสังคมระหว่างประเทศ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๔๙ ๒ - ๒๔๕๐ ได้เสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งที่ ๒ เพื่อเยี่ยมพระราชโอรสที่ศึกษาอยู่ในประเทศต่างๆ และรักษาพระองค์ตามที่แพทย์ถวายคำแนะนำ ในโอกาสเดียวกันทรงได้เจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมืองกับประเทศต่าง ๆ ด้วย แม้ว่ารัชกาลที่ ๕ จะทรงพัฒนาประเทศทุก ๆ ด้าน และพยายามผูกมิตรกับประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ แต่ประเทศไทยก็ยังไม่อาจรอดพ้นภัยจากลัทธิล่าอาณานิคมโดยสิ้นเชิง ดังเช่นเกิดพิพาทกับฝรั่งเศสจนถึงขั้นปะทะกันที่ปากน้ำ สมุทรปราการ ซึ่งเรียกว่าเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) เป็นต้น รัชกาลที่ ๕ ต้องทรงยอมเสียดินแดนบางส่วนให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษ เพื่อรักษาเอกราชและดินแดนส่วนใหญ่ไว้ ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นอาณานิคมเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระกรุณาธิคุณต่อประชาชนชาวไทยและประเทศไทยอย่างใหญ่หลวง จึงทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า พระปิยมหาราช อันหมายถึงว่า ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย และในโอกาสครบรอบ ๑๕๐ พรรษาแห่งวันคล้ายวันพระราชสมภพ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ได้ประกาศยกย่องให้พระองค์เป็นบุคคลสำคัญและมีผลงานดีเด่นของโลกทางสาขาการศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ มานุษยวิทยา การพัฒนาสังคมและสื่อสาร
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 มามีส่วนร่วมกันเถอะ
วิถีชีวิตคนไทยอยู่รอดด้วยภูมิปัญญาไทย/ท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรื่องการทำมาหากินเป็นอย่างไร
แม้วิถีชีวิตของชาวบ้านเมื่อก่อนจะดูเรียบง่ายกว่าทุกวันนี้ และยังอาศัยธรรมชาติและแรงงานเป็นหลักในการทำมาหากิน แต่พวกเขาก็ต้องใช้สติปัญญาที่บรรพบุรุษถ่ายทอดมาให้เพื่อจะได้อยู่รอด ทั้งนี้เพราะปัญหาต่างๆ ในอดีตก็ยังมีไม่น้อย โดยเฉพาะเมื่อครอบครัวมีสมาชิกมากขึ้น จำเป็นต้องขยายที่ทำกิน ต้องหักร้างถางพง บุกเบิก พื้นที่ทำกินใหม่ การปรับพื้นที่ปั้นคันนาเพื่อทำนาซึ่งเป็นงานที่หนัก การทำไร่ทำนา ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์และดูแลรักษาให้เติบโตและได้ผล เป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถ การจับปลาล่าสัตว์ก็มีวิธีการ บางคนมีความ สามารถมาก รู้ว่าเวลาไหนที่ใดและวิธีใดจะจับปลาได้ดีที่สุดคนที่ไม่เก่งก็ต้องใช้เวลานานและได้ปลาน้อย การล่าสัตว์ก็เช่นเดียวกัน
การจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ก็เป็นความรู้ความสามารถที่มีมาแต่โบราณ คนทางภาคเหนือรู้จักบริหารน้ำเพื่อการเกษตรและเพื่อการบริโภคต่างๆ โดยการจัดระบบเหมืองฝาย มีการจัดแบ่งปันน้ำกันตามระบบประเพณีที่ สืบทอดกันมา มีหัวหน้าที่ทุกคนยอมรับ มีคณะกรรมการจัดสรรน้ำตามสัดส่วนและตามพื้นที่ทำกิน นับเป็นความรู้ที่ทำให้ชุมชนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ใกล้ลำน้ำ ไม่ว่าต้นน้ำหรือปลายน้ำ ได้รับการแบ่งปันน้ำอย่างยุติธรรม ทุกคนได้ประโยชน์และอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
ชาวบ้านรู้จักการแปรรูปผลิตผลในหลายรูปแบบ การถนอมอาหารให้กินได้นาน การดองการหมัก เช่น ปลาร้า น้ำปลา ผักดอง ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ปลาแห้ง เนื้อแห้ง การแปรรูปข้าวก็ทำได้มากมายนับร้อยชนิด เช่น ขนมต่างๆ แต่ ละพิธีกรรมและแต่ละงานบุญประเพณี มีข้าวและขนมในรูปแบบไม่ซ้ำกัน ตั้งแต่ขนมจีน สังขยา ไปถึงขนมในงานสารท กาละแม ขนมครก และอื่นๆ ซึ่งยังพอมีให้เห็นอยู่จำนวนหนึ่ง ในปัจจุบันส่วนใหญ่ปรับเปลี่ยนมาเป็นการผลิตเพื่อขาย หรือเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน

ความรู้เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง ความรู้ของชาวบ้าน ซึ่งเรียนรู้มาจากพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ญาติพี่น้อง หรือผู้มีความรู้ในหมู่บ้านในท้องถิ่นต่างๆ ความรู้เหล่านี้สอนให้เด็กเคารพผู้ใหญ่ มีความกตัญญูรู้คุณพ่อแม่ และผู้มีพระคุณ มีความเอื้ออาทรต่อคนอื่น รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันข้าวของของตนให้แก่ผู้อื่น ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่มีคุณธรรม สอนให้คนเป็นคนดี สอนให้คนเคารพธรรมชาติ รู้จักพึ่งพาอาศัยธรรมชาติโดยไม่ทำลาย ให้เคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และคนที่ล่วงลับไปแล้ว



ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นความรู้เรื่องการทำมาหากิน เช่น การจับปลา การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การทอผ้า ทอเสื่อ การสานตระกร้าและเครื่องใช้ด้วยไม้ไผ่ ด้วยหวาย การทำเครื่องปั้นดินเผา การทำเครื่องมือทางการเกษตร นอกจากนั้น ยังมีศิลปะดนตรี การฟ้อนรำ และการละเล่นต่างๆ การรักษาโรคด้วยวิธีต่างๆ เช่น การใช้ยาสมุนไพร การนวด เป็นต้น ภูมิปัญญาเหล่านี้เป็นความรู้ความสามารถที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ และถ่ายทอดมาให้เรา มีวิธีการหลายอย่างที่ทำให้ความรู้เหล่านี้เกิดประโยชน์แก่สังคมปัจจุบันด้วย คือ

•การอนุรักษ์ คือ การบำรุงรักษาสิ่งที่ดีงามไว้

•การฟื้นฟู คือ การรื้อฟื้นสิ่งที่ดีงามที่หายไป เลิกไป หรือกำลังจะเลิก ให้กลับมาเป็นประโยชน์ เช่น การรื้อฟื้นดนตรีไทย

•การประยุกต์ คือ การปรับ หรือการผสมผสานความรู้เก่ากับความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน ให้เหมาะสมกับสมัยใหม่ เช่น การใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาล ประสานกับการรักษาสมัยใหม่ การทำพิธีบวชต้นไม้ เพื่อให้คนร่วมมือกันอนุรักษ์ป่า








วิถีชีวิตของคนชนบท

ความยากจนที่เกิดกับคนชนบทในแต่ละภาคนั้น คนชนบทได้มีการช่วยเหลือตนเองให้อยู่รอดด้วยการหารายได้มาจุนเจือครอบครัว โดยการโยกย้ายออกจากท้องถิ่นมารับจ้างทำงานในเขตที่มีความเจริญ เช่น ในเขตเกษตรก้าวหน้า โดยการรับจ้างทำงานในไร่นา ในปัจจุบันประเพณีดั้งเดิมของคนชนบทที่ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการดำนาและเกี่ยวข้าว ที่เรียกกันว่า "ลงแขก" คือ เพื่อนบ้านช่วยกันทำงานในไร่นาซึ่งกันและกันเพื่อให้งานเสร็จทันเวลา โดยไม่คิดค่าจ้างแต่อย่างใดนั้น ได้เลิกไปแล้วเกือบทั้งหมด เนื่องจากปัจจุบันวิถีการดำเนินชีวิตต้องอาศัยเงินมากขึ้น จึงต้องทำโดยการรับจ้าง ส่วนบางคนก็เข้าสู่ตัวเมืองหรือกรุงเทพฯ แล้วทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ทอผ้า ผลิตอาหารกระป๋อง หรือการรับจ้างทั่วไปในร้านอาหาร ภัตตาคาร บ้านที่อยู่อาศัย หรือเป็นกรรมกรแบกหาม ขับรถรับจ้าง ฯลฯ คนชนบทจึงเข้าปะปนกับคนเมือง วิถีชีวิตของคนชนบทก็ค่อยๆ เปลี่ยนไปตามสภาพสิ่งแวดล้อมของเมือง ดำเนินชีวิตแบบคนเมือง เช่น ฟังวิทยุ และมีการคมนาคมขนส่งที่ทันสมัยมากขึ้น การกินอยู่ก็ได้กินอาหารที่มีคุณค่ามากขึ้น เครื่องใช้ เช่น พัดลม และวิทยุ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเขามากขึ้น ความนิยมในเพลงลูกทุ่งเริ่มเข้าแทนที่การละเล่นพื้นบ้าน เช่น หมอลำ โปงลาง หรือลิเก









ในขณะเดียวกันความเป็นอยู่ของคนเมืองจะได้รับการนำเข้าไปสู่ชนบท เมื่อมีถนนและไฟฟ้าเข้าถึงท้องถิ่นชนบทนั้น คนชนบทที่มีฐานะดีพอสมควร ก็มีความต้องการสิ่งของเครื่องใช้และเครื่องอำนวยความสะดวกเช่นเดียวกับที่คนในเมืองใช้ เช่น ใช้เตารีดไฟฟ้าแทนเตารีดถ่าน นุ่งกางเกงยีนส์แทนการนุ่งกางเกงชาวนาหรือผ้าถุง สวมรองเท้า ไม่เดินเท้าเปล่า สูบบุหรี่มวนแทนยาเส้น หุงข้าวทำกับข้าวโดยใช้เตาถ่าน ที่ฐานะดีหน่อยก็ใช้เตาแก๊ส ใช้รถจักรยานยนต์แทนจักรยาน รู้จักการใช้ส้วมซึมแทนส้วมหลุม เจ็บไข้ได้ป่วยก็ไปหาหมอที่สถานีอนามัย โรงพยาบาล หรือคลินิก ฯลฯ



แต่ก็ยังมีชนบทที่อยู่ห่างไกลตัวเมือง ห่างไกลจากความเจริญ วิถีการดำเนินชีวิตก็ยังเป็นแบบเดิม เนื่องจากความยากจนซึ่งปรากฏอยู่ในภาคต่างๆ ดังกล่าวไว้แล้ว คนชนบทยากจนเหล่านี้ไม่มีรายได้เหลือพอที่จะซื้อหาสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องแต่งกาย หรือแม้แต่อาหารการกินที่มีคุณค่าต่อร่างกาย เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยก็อาศัยสมุนไพร เนื่องจากอยู่ห่างไกลจากสถานีอนามัย การดำรงชีวิตของเขาจะพึ่งธรรมชาติเป็นสำคัญ การทำการเกษตรเป็นแบบพึ่งน้ำฝน ปีใดฝนไม่ตกตามฤดูกาล ปีนั้นพืชผลก็เสียหาย ทำให้ไม่มีข้าวพอกิน พืชผล เช่น ปอ ข้าวโพด เสียหาย รายได้จากการขายพืชผลเหล่านี้ก็ลดลง เงินที่จะไปซื้อข้าวปลาอาหารก็น้อยลง ต้องได้รับความอดอยากขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อชีวิต สิ่งต่างๆ เหล่านี้จำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นหน้าที่ที่คนชนบทเองและคนไทยทุกคนจะต้องร่วมมือกันและให้ความช่วยเหลือให้ชนบทยากจนส่วนนี้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความพออยู่พอกิน ไม่ต้องอดอยากหิวโหยต่อไป เพราะคนชนบทยากจนเหล่านี้เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ถ้าคนส่วนใหญ่ยังอ่อนแอประเทศชาติก็จะขาดความมั่นคง



การดำเนินชีวิตของคนไทยในภูมิภาคต่าง ๆ

วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในแต่ละภูมิภาคขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ สภาพแวดล้อม
ทางธรรมชาติ รากฐานทางวัฒนธรรมดั้งเดิมของกลุ่มคนในภูมิภาค การรับวัฒนธรรมจากภายนอก
และลักษณะการผสมผสานทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นผลทำให้ลักษณะการดำเนินชีวิตหรือวัฒนธรรม
ความเป็นอยู่ของคนไทยในภูมิภาคต่าง ๆ มีเอกลักษณ์เฉพาะตน



ภาคเหนือ

ภาคเหนือเป็นดินแดนที่มีอาณาเขตกว้างขวาง มีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์
ผู้คนอาศัยในดินแดนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ คนเมืองกับชาวเขา คนเมือง ใช้เรียกคนที่อาศัยในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน
จากสภาพภูมิศาสตร์อันอุดมสมบูรณ์ คนเมืองในภาคเหนือมีอาชีพทางการเกษตรเป็นหลัก
มีวัฒนธรรมประเพณีหลายอย่างเกี่ยวข้องกับการเกษตร และขนบธรรมเนียมเก่าแก่ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา
แต่ครั้งปู่ย่าตายาย เช่น การนับถือผี เมื่อพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้น ทำให้เกิดประเพณีต่าง ๆ
ตามความเชื่อทางศาสนา เช่น ประเพณีสงกรานต์ งานปอย ทานขันข้าว ตักบาตรเทโว
ชาวเขา เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าต่าง ๆ ที่เคลื่อนย้ายเข้ามาและกระจายตัวอยู่ทั่วไปตามพื้นที่สูง


ของภาคเหนือ ชนกลุ่มน้อยมีอยู่หลายเผ่า เช่น ม้ง ลาหู่ อาข่า ลีซูหรือลีซอ เป็นต้น
ชนเผ่าต่าง ๆ มีความผูกพันกับป่าเขา ดำรงชีวิตด้วยการเพาะปลูกบนที่สูงและการเลี้ยงสัตว์
มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเอง ทั้งภาษา เครื่องแต่งกาย ศาสนา พิธีกรรมและความเป็นอยู่

ที่อยู่อาศัย วัฒนธรรมประเพณี สภาพดินฟ้าอากาศ มีส่วนกำหนดลักษณะที่อยู่อาศัยของผู้คน


บ้านเรือนในภาคเหนือ นิยมสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นสอดคล้องกับวิถีชีวิต ตัวเรือนมีขนาด เล็กใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่ว ประดับยอดหลังคาด้วยไม้แกะสลักไขว้กัน เรียกว่า "กาแล" ชาวเหนือที่มีฐานะดีจะอยู่เรือนที่ค่อนข้างมีขนาด ใหญ่และประณีตมากขึ้น


การแต่งกาย ในอดีตผู้หญิงชาวเหนือไม่นิยมใส่เสื้อแต่มีผ้าคล้องคอผืนใหญ่ นุ่งผ้าซิ่น


ลายขวางต่อหัวและเชิง ส่วนผู้ชายนุ่งผ้าผืนเดียว ต่อมาภายหลังจนกระทั่งปัจจุบัน การแต่งกาย
พื้นเมืองมีลักษณะแปลงไป ผู้หญิงนุ่งซิ่นกรอมเท้า อาจเป็นซิ่นลายขวางหรือซิ่นที่ทอด้วยลวดลาย
วิจิตรงดงาม สวมเสื้อผ้าฝ้ายตัวสั้น นิยมตกแต่งด้วยเครื่องประดับเงิน ส่วนผู้ชายใส่เตี่ยวสะดอ
หรือกางเกงขาก๊วยและเสื้อหม้อห้อมเคียนเอวด้วยผ้าขาวม้า อันเป็นลักษณะที่แสดงความเรียบง่าย
ขนบธรรมเนียมประเพณี เครื่องดนตรีล้านนาเป็นเครื่องดนตรีทางภาคเหนือ ที่พบเห็นเสมอ


ได้แก่ ซึง สะล้อ ปี่ กลอง ซึ่งมีหลายชนิด เช่น กลองหลวง กลองสะบัดชัย
สำหรับการฟ้อนรำนั้น ผู้ชายนิยมฟ้อนดาบซึ่งเป็นการนำเอาท่วงท่าศิลปะการต่อสู้ของคน


สมัยก่อนมาปรับประยุกต์ ฟ้อนที่นิยมได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนก๋ายหลาย เป็นต้น
ปัจจุบันดนตรีและการฟ้อนรำของภาคเหนือเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ใช้แสดงต้อนรับแขกบ้าน
แขกเมืองเมื่อมีเทศกาลหรืองานประเพณีต่าง ๆ ก็จะนำดนตรีและการแสดงพื้นบ้านออกมาเล่นกัน
อย่างสนุกสนาน
สำหรับการฟ้อนรำนั้น ผู้ชายนิยมฟ้อนดาบซึ่งเป็นการนำเอาท่วงท่าศิลปะการต่อสู้ของคน


สมัยก่อนมาปรับประยุกต์ ฟ้อนที่นิยมได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนก๋ายหลาย เป็นต้น
ปัจจุบันดนตรีและการฟ้อนรำของภาคเหนือเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ใช้แสดงต้อนรับแขกบ้าน
แขกเมืองเมื่อมีเทศกาลหรืองานประเพณีต่าง ๆ ก็จะนำดนตรีและการแสดงพื้นบ้านออกมาเล่นกัน
อย่างสนุกสนาน

ภาคกลาง
ภาคกลางมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่อุดมสมบูรณ์ เอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตรกรรม ภาคกลางเป็นที่ตั้งเมืองหลวงของประเทศ เป็นศูนย์กลางของการบริหารราชการ การศึกษา กิจกรรมทาง
เศรษฐกิจและการคมนาคม จึงเป็นชุมชนที่มีประชากรหนาแน่น มีหลายเชื้อชาติ เช่น คนไทยเชื้อสายมอญ คนไทยเชื้อสายจีน คนไทยเชื้อสายญวน คนไทยเชื้อสายลาว
การทำมาหากิน ผู้คนในภาคกลางประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นหลัก โดยเฉพาะการ


ปลูกข้าว บริเวณภาคกลางมีแม่น้ำลำคลองหนองบึงอยู่ทั่วไปและอยู่ใกล้อ่าวไทย จึงมีการทำการประมง
ทั้งประมงน้ำจืด ประมงน้ำกร่อยและประมงน้ำเค็ม นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาการเติบโตเป็นศูนย์กลาง
ทางเศรษฐกิจของประเทศ ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่โดยทั่วไป เช่น โรงสีข้าว โรงงานผลิตน้ำตาล
โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานประกอบรถยนต์ โรงงานประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ภาคกลางจึงเป็นภูมิภาคที่มีผู้คนตั้งถิ่นฐานและเป็นแหล่งงานของผู้คนที่อยู่อาศัยกันอย่างหนาแน่น

ที่อยู่อาศัย บ้านเรือนในภาคกลางแต่เดิมมีลักษณะที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมอย่างชัดเจน ภาคกลางอยู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ฝนตกชุกและอากาศร้อน จึงปลูกสร้างบ้านเรือนเพื่อให้อยู่อาศัยอย่างสบาย
ในภูมิประเทศมีแม่น้ำลำคลองมากก็ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำ หรือปลูกเรือนลอยอยู่ในน้ำเรียกว่า เรือนแพ
สำหรับที่อยู่อาศัยปลูกสร้างอย่างเรียบง่าย มีลักษณะหลังคาทรงจั่วเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวกและ
ทำให้ฝนที่ตกลงมาไหลลงได้รวดเร็วไม่ค้างอยู่บนหลังคา มีใต้ถุนสูงเพื่อให้พ้นน้ำท่วมและใช้เก็บ
เครื่องมือเครื่องใช้และผลิตผลทางการเกษตร สำหรับผู้ที่มีฐานะดก็จะปลูกในลักษณะที่คงทนถาวรี
มากกว่า
การแต่งกาย ในอดีตนุ่งผ้าโจงกระเบน ผู้หญิงท่อนบนใช้ผ้าคาดอก หากออกไปทำงาน


หรือที่ชุมชนก็ห่มผ้าสไบเฉียงไหล่ เป็นต้น ต่อมาคนไทยโดยเฉพาะในเมืองหลวงได้รับอิทธิพล
ของการแต่งกายแบบตะวันตกมากขึ้น และเป็นแนวนิยมจนกระทั่งปัจจุบัน

ขนบธรรมเนียมประเพณี ประเพณีเกี่ยวกับการเกษตร เช่น พิธีแห่นางแมวเพื่อขอให้เทวดา


บันดาลให้ฝนตกตามฤดูกาล เวลาที่ข้าวเริ่มออกรวงก็จะมีพิธีทำขวัญข้าว
ในทางพุทธศาสนามีกิจกรรมสำคัญ ๆ ที่กระทำกันหลายโอกาส เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา


นอกจากนี้ยังมีเทศกาลอื่น ๆ เช่น เทศกาลสงกรานต์ เทศกาลลอยกระทง เป็นต้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประชากรภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือชาวอีสาน ประกอบด้วยชนเผ่าที่มาจากหลายกลุ่ม


ชาติพันธุ์ รวมตัวกันตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกันอย่างมากมาย ชาวไทยอีสานกระจายอยู่ทุกจังหวัดทั่วภูมิภาค

ที่อยู่อาศัย แต่เดิมหมู่บ้านในชนบทภาคอีสานยังคงยึดถือรูปแบบของการเป็นอยู่ที่เรียบง่าย


บ้านเรือนที่ปลูกสร้างใช้วัสดุในท้องถิ่น เป็นเรือนใต้ถุนสูง ตีฝาสายบัว หลังคาทรงจั่วต่ำ ปัจจุบันส่วนใหญ่ เป็นบ้านไม้หรือก่ออิฐฉาบปูน มุงหลังคาสังกะสีและกระเบื้อง ผู้มีฐานะดีมักสร้างบ้านโดยใช้วัสดุราคาแพง รูปทรงตะวันตก
ขนบธรรมเนียมประเพณี ชาวอีสานส่วนใหญนับถือพุทธศาสนา แต่ทางปฏิบัติยึดถือทั้งผี


พราหมณ์์และพุทธศาสนา ที่ได้สืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน รวมเรียกว่า "ฮีตสิบสอง คองสิบสี่"
เป็นผลให้สังคมชาวอีสานอยู่กันอย่างเรียบง่ายสงบสุข


การแต่งกาย ชาวอีสานนิยมทอผ้าไหม ผ้าฝ้าย ตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าและเครื่องนอนใช้ในครัวเรือน


กันแทบทุกครอบครัว รูปแบบการแต่งกายมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ผู้หญิงนุ่งซิ่น ผู้ชายนุ่งโสร่ง
ปัจจุบันหันมาใช้กางเกงเสื้อผ้าแบบตะวันตก แต่ก็ยังแต่งกายพื้นเมืองในเวลามีเทศกาลงานบุญต่าง ๆ
ตามประเพณีท้องถิ่น

ภาคใต้


กลุ่มชนโบราณที่เคยอาศัยและตั้งถิ่นฐานในภาคใต้ คือ "ชนชาวถ้ำ" และ "ชนชาวน้ำ"


ชนชาวถ้ำ ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ป่าเขา โดยเข้าป่าล่าสัตว์ตามแบบดั้งเดิม ชนกลุ่มนี้คือ


บรรพบุรุษของพวกเซมัง หรือ ซาไก หรือเงาะป่า
ชนชาวน้ำ อาศัยอยู่ในแนวชายฝั่งทะเลตามอ่าวหรือถ้ำบนเกาะ คือ พวกโอรังลาโอด หรือ โปรโต-มาเลย์ หรือชาวเลที่ยังมีอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากทำเลที่ตั้งของภาคใต้เป็นคาบสมุทร ซึ่งเป็นเส้นทางการเดินทางระหว่างมหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้ จึงมีชนต่างชาติเข้ามาพำนักอาศัยและเกิดการผสมผสานทางเชื้อชาติ ได้แก่ ชาวอินเดีย ชาวจีน และชาวตะวันออกกลาง
ที่อยู่อาศัย จะตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้แหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ใกล้ท่าน้ำ ลำคลอง อ่าว


และทะเล เพื่อสะดวกในการสัญจรและการทำมาหากิน คนไทยภาคใต้จะมีคติในการตั้งบ้านเรือน เช่น
ปลูกบ้านโดยมีตีนเสารองรับเสาเรือนแทนการขุดหลุมฝังเสา เพื่อสะดวกในการโยกย้ายและเป็นการ
ป้องกันมด ปลวก มีคติห้ามปลูกเรือนขวางตะวัน เพราะจะขวางเส้นทางลมมรสุมซึ่งอาจทำให้หลังคา
ปลิวและถูกพายุพัดพังได้ง่าย วัสดุที่นำมาสร้างคือสิ่งที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น บ้านเรือนมีหลายลักษณะ
มีทั้งบ้านเรือนเครื่องผูก หลังคาทรงจั่วและทรงปั้นหยา มีใต้ถุนเตี้ยเพราะมีลมพายุเกือบทั้งปี
หากปลูกเรือนสูงอาจต้านทานแรงลม ทำให้เรือนเสียหายได้


การแต่งกาย เนื่องจากภาคใต้ตั้งอยู่แถบศูนย์สูตร มีผลให้อุณหภูมิไม่แตกต่างกันนักชาวใต้นิยม แต่งกายแบบเรียบง่าย หลวม ๆ ส่วนมากใช้ผ้าฝ้าย รูปแบบเครื่องนุ่งห่มส่วนใหญ่คล้ายกับ
ของมาเลเซียและอินโดนีเซีย เพราะอยู่ในลักษณะอากาศแบบเดียวกัน ผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของ
ของภาคใต้ คือ ผ้ายก ผ้าจวน ผ้าไหมพุมเรียง และผ้าปาเต๊ะ ซึ่งเป็นผ้าที่นิยมกันในภาคใต้ตอนล่าง
เป็นต้น

ขนบธรรมเนียมประเพณี จากภูมิประเทศที่เป็นทางผ่านเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าของพ่อค้า


ต่างชาติส่งผลถึงวัฒนธรรมด้านศาสนาและความเชื่อของผู้คนในดินแดนแห่งนี้ด้วย ทั้งศาสนาพุทธ
และศาสนาฮินดู ที่ได้เข้ามามีอิทธิพลในภาคใต้นับพันปีมาแ้ล้ว และศาสนาอิสลามซึ่งได้เผยแพร่
ในระยะหลัง แต่เป็นที่นิยมนับถือกันของคนไทยในภาคใต้ตอนล่าง
คนในภาคใต้ยังมีความเชื่อและประเพณีที่ผูกพันกับธรรมชาติ เช่น ประเพณีรับขวัญข้าว
ทำขวัญเรือและเซ่นสรวงแม่ย่านางเรือ ประเพณีการทำบุญวันสารทเดือนสิบซึ่งเป็นความศรัทธา
ในเรื่องบุญและความกตัญญูต่อบุพการี ประเพณีชักพระซึ่งเชื่อว่าทำให้ฝนตกตามฤดูกาล
หน่วยที่ 2 เบ้าหลอมวัฒนธรรม

วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย



การติดต่อกับชาวต่างชาติของคนไทยในยุคสมัยต่าง ๆ มีผลต่อสังคมไทยหลายด้าน วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย โดยวัฒนธรรมบางอย่างได้ถูกปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและประเพณีดั้งเดิมของคนไทย ขณะที่วัฒนธรรมบางอย่างรับมาใช้โดยตรง


1. วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย

อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกต่อสังคมไทยมีมาตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรของคนไทย เช่น สุโขทัย ล้านนา ซึ่งมีทั้งวัฒนธรรมที่รับจากอินเดีย จีน เปอร์เซีย เพื่อนบ้าน เช่น เขมร มอญ พม่า โดยผ่านการติดต่อค้าขาย การรับราชการของชาวต่างชาติ การทูต และการทำสงคราม



สำหรับตัวอย่างอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกที่มีต่อสังคมไทยมีดังนี้

1.ด้านอักษรศาสาตร์ เช่น ภาษาไทยที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากภาษาขอม รับภาษาบาลี ภาษาสันสกฤตจากหลายทางทั้งผ่านพระพุทธศาสนา ผ่านศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จากอินเดีย เขมร นอกจากนี้ ในปัจจุบันภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ก็ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น

2. ด้านกฎหมาย มีการรับรากฐานกฎหมาย มีการรับรากฐานกฎหมายอินเดีย ได้แก่ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ โดยรับผ่านมาจากหัวเมืองมอญอีกต่อหนึ่ง และกลายเป็นหลักของกฎหมายไทยสมัยอยุธยาและใช้มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

3. ด้านศาสนา พระพุทธศาสนาเผยแผ่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว ดังจะเห็นได้จากแว่นแคว้นโบราณ เช่น ทวารวดี หริภุญชัยได้นับถือพระพุทธศาสนา หรือสุโขทัย รับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชและได้ถ่ายทอดให้แก่อาณาจักรอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของคนไทยตลอดมา นอกจากนี้ คนไทยยังได้รับอิทธิพลในการนับถือศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวมุสลิมนำมาเผยแผ่ รวมทั้งคริสต์ศาสนาที่คณะมิชชันนารีนำเข้ามาเผยแผ่ในเมืองไทยนับตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา

4. ด้านวรรณกรรม ในสมัยอยุธยาได้รับวรรณกรรมเรื่องรามเกรียรติ์ มาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย เรื่องอิเหนาจากชวา ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมจีน เช่น สามก๊ก ไซอิ๋ว วรรณกรรมของชาติอื่น ๆ เช่น ราชาธิราชของชาวมอญ อาหรับราตรีของเปอร์เซีย เป็นต้น

5. ด้านศิลปวิทยาการ เช่น เชื่อกันว่าชาวสุโขทัยได้รับวิธีการทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีน รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย ศรีลังกา

6. ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต เช่น คนไทยสมัยก่อนนิยมกินหมากพลู รับวิธีการปรุงอาหารที่ใส่เครื่องแกง เครื่องเทศจากอินเดีย รับวิธีการปรุงอาหารแบบผัด การใช้กะทะ การใช้น้ำมันจากจีน ในด้านการแต่งกาย คนไทยสมัยก่อนนุ่งโจงกระเบนแบบชาวอินเดีย เป็นต้น




2. วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย


ไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกหลายด้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในระยะแรกเป็นความก้าวหน้าด้านการทหาร สถาปัตยกรรม ศิลปวิทยาการ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน


ดัวอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้

1. ด้านการทหาร เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้ มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก เช่น ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการทหาร มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก

2. ด้ารการศึกษา ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง เช่น พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก

ในสมัยรัชการลที่ 5 มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่ ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่ ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ เช่น โรงเรียนแพทย์ โรงเรียนกฎหมาย ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3. ด้านวิทยาการ เช่น ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่ ซึ่งเริ่มในสม้ยรัชกาลที่ 3 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดตั้งโรงพยาบาล โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน

ด้านการพิมพ์ เริ่มจากการพิมพ์หนังสือพิมพ์รายปักษ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2387 ชื่อ "บางกอกรีคอร์เดอร์" การพิมพ์หนังสือทำให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายมากขึ้น ในด้านการสื่อสารคมนาคม เช่น การสร้างถนน สะพาน โทรทัศน์ โทรศัพท์ กล้องถ่ายรูป รถยนต์ รถไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่คนไทยเป็นอย่างมาก

4. ด้านแนวคิดแบบตะวันตก การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง เช่น ประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์ สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นอกจากนี้ วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย เช่น การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย เช่น งานเขียนของดอกไม้สด ศรีบูรพา


5. ด้านวิถีการดำเนินชีวิต การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้ ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป เช่น การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก การปลูกสร้างพระราชวัง อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก เช่น ฟุตบอล กอล์ฟ เข้ามาเผยแพร่ เป็นต้น




งานสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงปัจจุบัน
ศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีดังนี้


1) ศาสนา


ในสมัยรัชกาลที่ 1 มีการสังคายนาพระไตรปิฎกที่เรียกว่า ฉบับหลวงหรือฉบับทองใหญ่ และมีการตรากฎหมายปกครองคณะสงฆ์ ขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย นอกจากนี้ยังมีการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ

2) ประเพณีและวัฒนธรรม


พระราชประเพณีที่สำคัญ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และราชพิธีพืชมงคล เป็นต้น


ส่วนประเพณีท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับคนไทยโดยทั่วไป เช่น การลอยกระทงการเล่นสักวา การเล่นเพลงเรือ พิธีตรุษ สารท เป็นต้น

3) สถาปัตยธรรม


สถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ คือการสร้างพระบรมมหาราชวัง

4) ประติมากรรม


ประติมากรรมชิ้นเอก คือ การแกะสลักประตูกลางด้านหน้าพระวิหารวัดสุทัศน์ และงานตกแต่งหน้าบรรณพระอุโบาสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

5) จิตรกรรม


จิตรกรรมส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนางาน จิตรกรรมที่สำคัญ เช่น ภาพเขียนในพระอุโบสถวัด พระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นต้น

6) วรรณกรรม


สมัยรัชกาลที่ 1 วรรณกรรมที่สำคัญ เช่น นิราศท่าดินแดง โครงพยุหยาตรา และมหาชาติคำหลวง เป็นต้น


สมัยรัชกาลที่ 2 เป็นยุคทองของวรรณกรรม วรรณกรรมที่สำคัญ เช่น ละคร เรื่องขุนช้างขุนแผน อิเหนา รามเกียรติ์ และเพลงพากย์โขน เป็นต้น

กวีสำคัญในสมัยนี้ เช่น พระสุนทรโวหาร (ภู่) พระยาตรัง และสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นต้น

7) ดนตรีและนาฏศิลป์


การละเล่นที่สำคัญ คือ โขน ซึ่งพัฒนามาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ นิยมเล่นในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ส่วนละคร มีทั้งละครนอกและละครใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีซอสายฟ้าฟาดคู่พระหัตถ์ และทรงพระราชนิพนธ์ เพลงบุหลันลอยเลื่อน ซึ่งต่อมา ทรงเรียกว่า เพลงพระสุบิน

การปรับปรุงประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตก แทนที่จะ ปรับปรุงประเทศตามแบบอยุธยา อย่างเช่นที่เคยเป็นมา การปรับดังกล่าวได้แก่

การปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

1) การประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้า ตามแบบตะวันตก


2) การปฏิบัติต่อต่างชาติ โดยการให้เข้าเฝ้าโดยการยืน และถวายคำนับ แทนการหมอบคลาน และทรงให้ชาวต่างชาติ ิร่วมโต๊ะเสวยในวันสำคัญต่างๆ ซึ่งทำให้ต่างชาติยอมรับประเทศไทยมากชึ้น


3) ให้มีประเพณีตีกลองฎีกา เพื่อให้ประชาชนสามารถร้องทุกข์ได้ และทรงสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พระราชทานแก่ขุนนาง และเจ้านาย


การส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรม


1) สถาปัตยกรรม ทรงโปรดศิลปกรรมตะวันตกมากจึงสร้างขึ้นหลายแหล่ง เช่น พระราชวังสราญรมย์ เป็นต้น


2) ประติมากรรม ศิลปกรรมตะวันตก แสดงออกมาในแบบรูปปั้นต่างๆ เช่น พระพุทธพรรณี เป็นต้น


3) จิตรกรรม เริ่มนำเอาเทคนิคการเขียนภาพแบบตะวันตกมาใช้ ผู้ที่นำมา คือ พระอาจารย์ขรัวอินโข่ง


4) วรรณกรรม พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ไว้หลายเรื่อง เช่น บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ มหาเวสสันดรชาดก เป็นต้น กวีมีชื่อเสียง เช่น ม.ร.ว.กระต่าย อิศรางกูร ณ อยุธยา


การปรับปรุงประเทศของพระองค์ เป็นการปรับปรุงเพื่อเตรียมรับอารยธรรมตะวันตก ซึ่งกำลังแผ่อิทธิพลอยู่ในขณะนั้น และการ ปรับปรุงของพระองค์มีผลกระทบโดยตรงต่อพระราชโอรสของพระองค์ เมื่อขึ้นครองราชย์ คือรัชกาลที่ 5


ในเวลาต่อมา รัชกาลบที่ 5 ได้ทำการปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณีและส่งเสริมวรรณกรรมและศิลปกรรม ดังนี้


การปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณี


1) เปลี่ยนแปลงการแต่งกาย เช่น เครื่องแบบทหารให้ใช้แบบตะวันตกและผู้ชายให้ใส่เสื่อราชปะแตน ผู้หญิงให้ไว้ผมทรง ดอกกระทุ่ม เป็นต้น


2) ยกเลิกประเพณีหมอบคลาน ยกเลิกการสืบพยานแบบจารีตนครบาลและประกาศใช้การนับ ร.ศ. โดยยึด พ.ศ. 2325 เป็น ร.ศ. 1


3) แก้ไขประเพณีการสืบสันตติวงศ์ใหม่ โดยการตั้งตำแหน่งสยามมกถฎราชกุมาร แทนตำแหน่งวังหน้า

การส่งเสริมวรรณกรรมและศิลปกรรม

1)วรรณกรรม ที่สำคัญ เช่น บทละครเรื่องเงาะป่าไกลบ้าน และของพระยาศรีสุนทรโวหาร เช่นมูลบทบรรพกิจ อักษรประโยค


2) ศิลปกรรม ศิลปกรรมมักจะเป็นของไทยผสมกับยุโรป เช่น วัดเบญจมบพิตร พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น


3) ประติมากรรม เช่น พระบรมรูปทรงม้า พระพุทธชินราชจำลอง


4) จิตรกรรม มีภาพเขียนแบบตะวันตกที่เรียกว่า ภาพเขียนปูนเปียก และมีภาพจิตกรรมฝาผนัง


5) นาฏกรรม ละครแบบใหม่ในสมัยนี้ เช่น ละครพันทาง ละครดึกดำบรรพ์ เป็นต้น


รัชกาลต่อมา คือ รัชกาลที่ 6 ก็ได้พัฒนาประเทศด้วยการปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณี และความเจริญด้านศิลปะ และวัฒนธรรม ดังนี้


การปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณี


(1) การออกพระราชบัญญัตินามสกุล เพื่อประโยชน์ในการปกครองของประเทศ


(2) เปลี่ยนธงชาติจากธงช้าเผือกเป็นธงไตรรงค์


(3) ใช้ พ.ศ. ตามการนับถือพระพุทธศาสนา และเปลี่ยนการนับเวลาเป็น 1 นาฬิกา ถ้าหลังจากเที่ยงคืนไปแล้ว


(4) กำหหนดคำนำหน้าเด็กและสตรี


ศิลปวัฒนธรรม


1) สถาปัตยกรรม ศิลปะแบบไทยแห่งแรกที่ทรงสร้าง คือ พระราชวังสนามจันทน์ จังหวัดนครปฐม


2) ประติมากรรม ประติมากรรมแบบไทยแท้ เช่น รูปหล่อสัมฤทธิ์พระนางธรณีบีบมวยผม เป็นต้น


3) จิตรกรรม เป็นภาพเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับชาดก และพระมหากษัตริย์ไทย เช่น ภาพเขียนที่โดมพระที่นั่งอนันตสมาคม


4) วรรณกรรม อิทธิพลของตะวันตกมีมากขึ้น การเขียนร้อยกรองเปลี่ยนเป็นการเขียนร้อยแก้ว รูปแบบคำประพันธ์ก็เป็นแบบ ตะวันตกมากขึ้น


5) ศิลปกรรม พระองค์สนใจงานศิลปกรรมมากจึงได้จัดตั้งโรงเรียนเพาะช่างขึ้น เพื่อให้มีการสอนศิลปะไทยและศิลปะ ตะวันตก จิตรกรที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้คือ พระยาอนุศาสน์ เป็นผู้เขียนภาพสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในฝาผนังวัดสุวรรณดาราราม จังหัดพระนครศรีอยุธยา


6) นาฏกรรม โขน ละคร และดนตรี เจริญสูงสุดในสมัยนี้ เพราะพระองค์เชื่อว่านอกจากจะให้ความบันเทิงใจแล้ว ยังสามารถ ยกระดับจิตใจของมนุษย์ให้สูงขึ้น

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

หน่วยที่ 2 เบ้าหลอมวัฒนธรรม

หน่วยที่ 2 เบ้าหลอมวัฒนธรรม
วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย

การติดต่อกับชาวต่างชาติของคนไทยในยุคสมัยต่าง ๆ มีผลต่อสังคมไทยหลายด้าน วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย โดยวัฒนธรรมบางอย่างได้ถูกปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและประเพณีดั้งเดิมของคนไทย ขณะที่วัฒนธรรมบางอย่างรับมาใช้โดยตรง

1. วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย

อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกต่อสังคมไทยมีมาตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรของคนไทย เช่น สุโขทัย ล้านนา ซึ่งมีทั้งวัฒนธรรมที่รับจากอินเดีย จีน เปอร์เซีย เพื่อนบ้าน เช่น เขมร มอญ พม่า โดยผ่านการติดต่อค้าขาย การรับราชการของชาวต่างชาติ การทูต และการทำสงคราม

สำหรับตัวอย่างอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกที่มีต่อสังคมไทยมีดังนี้

1.ด้านอักษรศาสาตร์ เช่น ภาษาไทยที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากภาษาขอม รับภาษาบาลี ภาษาสันสกฤตจากหลายทางทั้งผ่านพระพุทธศาสนา ผ่านศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จากอินเดีย เขมร นอกจากนี้ ในปัจจุบันภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ก็ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น

2. ด้านกฎหมาย มีการรับรากฐานกฎหมาย มีการรับรากฐานกฎหมายอินเดีย ได้แก่ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ โดยรับผ่านมาจากหัวเมืองมอญอีกต่อหนึ่ง และกลายเป็นหลักของกฎหมายไทยสมัยอยุธยาและใช้มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

3. ด้านศาสนา พระพุทธศาสนาเผยแผ่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว ดังจะเห็นได้จากแว่นแคว้นโบราณ เช่น ทวารวดี หริภุญชัยได้นับถือพระพุทธศาสนา หรือสุโขทัย รับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชและได้ถ่ายทอดให้แก่อาณาจักรอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของคนไทยตลอดมา นอกจากนี้ คนไทยยังได้รับอิทธิพลในการนับถือศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวมุสลิมนำมาเผยแผ่ รวมทั้งคริสต์ศาสนาที่คณะมิชชันนารีนำเข้ามาเผยแผ่ในเมืองไทยนับตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา

4. ด้านวรรณกรรม ในสมัยอยุธยาได้รับวรรณกรรมเรื่องรามเกรียรติ์ มาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย เรื่องอิเหนาจากชวา ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมจีน เช่น สามก๊ก ไซอิ๋ว วรรณกรรมของชาติอื่น ๆ เช่น ราชาธิราชของชาวมอญ อาหรับราตรีของเปอร์เซีย เป็นต้น

5. ด้านศิลปวิทยาการ เช่น เชื่อกันว่าชาวสุโขทัยได้รับวิธีการทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีน รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย ศรีลังกา

6. ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต เช่น คนไทยสมัยก่อนนิยมกินหมากพลู รับวิธีการปรุงอาหารที่ใส่เครื่องแกง เครื่องเทศจากอินเดีย รับวิธีการปรุงอาหารแบบผัด การใช้กะทะ การใช้น้ำมันจากจีน ในด้านการแต่งกาย คนไทยสมัยก่อนนุ่งโจงกระเบนแบบชาวอินเดีย เป็นต้น


2. วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย

ไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกหลายด้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในระยะแรกเป็นความก้าวหน้าด้านการทหาร สถาปัตยกรรม ศิลปวิทยาการ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน

ดัวอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้

1. ด้านการทหาร เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้ มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก เช่น ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการทหาร มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก

2. ด้ารการศึกษา ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง เช่น พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก

ในสมัยรัชการลที่ 5 มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่ ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่ ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ เช่น โรงเรียนแพทย์ โรงเรียนกฎหมาย ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3. ด้านวิทยาการ เช่น ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถคำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่ ซึ่งเริ่มในสม้ยรัชกาลที่ 3 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดตั้งโรงพยาบาล โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน

ด้านการพิมพ์ เริ่มจากการพิมพ์หนังสือพิมพ์รายปักษ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2387 ชื่อ "บางกอกรีคอร์เดอร์" การพิมพ์หนังสือทำให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายมากขึ้น ในด้านการสื่อสารคมนาคม เช่น การสร้างถนน สะพาน โทรทัศน์ โทรศัพท์ กล้องถ่ายรูป รถยนต์ รถไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่คนไทยเป็นอย่างมาก

4. ด้านแนวคิดแบบตะวันตก การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง เช่น ประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์ สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นอกจากนี้ วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย เช่น การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย เช่น งานเขียนของดอกไม้สด ศรีบูรพา
5. ด้านวิถีการดำเนินชีวิต การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้ ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป เช่น การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก การปลูกสร้างพระราชวัง อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก เช่น ฟุตบอล กอล์ฟ เข้ามาเผยแพร่ เป็นต้น

งานสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงปัจจุบัน
ศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีดังนี้

1) ศาสนา

ในสมัยรัชกาลที่ 1 มีการสังคายนาพระไตรปิฎกที่เรียกว่า ฉบับหลวงหรือฉบับทองใหญ่ และมีการตรากฎหมายปกครองคณะสงฆ์ ขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย นอกจากนี้ยังมีการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ

2) ประเพณีและวัฒนธรรม


พระราชประเพณีที่สำคัญ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และราชพิธีพืชมงคล เป็นต้น


ส่วนประเพณีท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับคนไทยโดยทั่วไป เช่น การลอยกระทงการเล่นสักวา การเล่นเพลงเรือ พิธีตรุษ สารท เป็นต้น

3) สถาปัตยธรรม


สถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ คือการสร้างพระบรมมหาราชวัง

4) ประติมากรรม


ประติมากรรมชิ้นเอก คือ การแกะสลักประตูกลางด้านหน้าพระวิหารวัดสุทัศน์ และงานตกแต่งหน้าบรรณพระอุโบาสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

5) จิตรกรรม


จิตรกรรมส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนางาน จิตรกรรมที่สำคัญ เช่น ภาพเขียนในพระอุโบสถวัด พระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นต้น

6) วรรณกรรม


สมัยรัชกาลที่ 1 วรรณกรรมที่สำคัญ เช่น นิราศท่าดินแดง โครงพยุหยาตรา และมหาชาติคำหลวง เป็นต้น


สมัยรัชกาลที่ 2 เป็นยุคทองของวรรณกรรม วรรณกรรมที่สำคัญ เช่น ละคร เรื่องขุนช้างขุนแผน อิเหนา รามเกียรติ์ และเพลงพากย์โขน เป็นต้น

กวีสำคัญในสมัยนี้ เช่น พระสุนทรโวหาร (ภู่) พระยาตรัง และสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นต้น

7) ดนตรีและนาฏศิลป์


การละเล่นที่สำคัญ คือ โขน ซึ่งพัฒนามาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ นิยมเล่นในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ส่วนละคร มีทั้งละครนอกและละครใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีซอสายฟ้าฟาดคู่พระหัตถ์ และทรงพระราชนิพนธ์ เพลงบุหลันลอยเลื่อน ซึ่งต่อมา ทรงเรียกว่า เพลงพระสุบิน

การปรับปรุงประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตก แทนที่จะ ปรับปรุงประเทศตามแบบอยุธยา อย่างเช่นที่เคยเป็นมา การปรับดังกล่าวได้แก่

การปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

1) การประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้า ตามแบบตะวันตก


2) การปฏิบัติต่อต่างชาติ โดยการให้เข้าเฝ้าโดยการยืน และถวายคำนับ แทนการหมอบคลาน และทรงให้ชาวต่างชาติ ิร่วมโต๊ะเสวยในวันสำคัญต่างๆ ซึ่งทำให้ต่างชาติยอมรับประเทศไทยมากชึ้น


3) ให้มีประเพณีตีกลองฎีกา เพื่อให้ประชาชนสามารถร้องทุกข์ได้ และทรงสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พระราชทานแก่ขุนนาง และเจ้านาย


การส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรม


1) สถาปัตยกรรม ทรงโปรดศิลปกรรมตะวันตกมากจึงสร้างขึ้นหลายแหล่ง เช่น พระราชวังสราญรมย์ เป็นต้น


2) ประติมากรรม ศิลปกรรมตะวันตก แสดงออกมาในแบบรูปปั้นต่างๆ เช่น พระพุทธพรรณี เป็นต้น


3) จิตรกรรม เริ่มนำเอาเทคนิคการเขียนภาพแบบตะวันตกมาใช้ ผู้ที่นำมา คือ พระอาจารย์ขรัวอินโข่ง


4) วรรณกรรม พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์ไว้หลายเรื่อง เช่น บทละครเรื่อง รามเกียรติ์ มหาเวสสันดรชาดก เป็นต้น กวีมีชื่อเสียง เช่น ม.ร.ว.กระต่าย อิศรางกูร ณ อยุธยา


การปรับปรุงประเทศของพระองค์ เป็นการปรับปรุงเพื่อเตรียมรับอารยธรรมตะวันตก ซึ่งกำลังแผ่อิทธิพลอยู่ในขณะนั้น และการ ปรับปรุงของพระองค์มีผลกระทบโดยตรงต่อพระราชโอรสของพระองค์ เมื่อขึ้นครองราชย์ คือรัชกาลที่ 5


ในเวลาต่อมา รัชกาลบที่ 5 ได้ทำการปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณีและส่งเสริมวรรณกรรมและศิลปกรรม ดังนี้


การปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณี


1) เปลี่ยนแปลงการแต่งกาย เช่น เครื่องแบบทหารให้ใช้แบบตะวันตกและผู้ชายให้ใส่เสื่อราชปะแตน ผู้หญิงให้ไว้ผมทรง ดอกกระทุ่ม เป็นต้น


2) ยกเลิกประเพณีหมอบคลาน ยกเลิกการสืบพยานแบบจารีตนครบาลและประกาศใช้การนับ ร.ศ. โดยยึด พ.ศ. 2325 เป็น ร.ศ. 1


3) แก้ไขประเพณีการสืบสันตติวงศ์ใหม่ โดยการตั้งตำแหน่งสยามมกถฎราชกุมาร แทนตำแหน่งวังหน้า

การส่งเสริมวรรณกรรมและศิลปกรรม

1)วรรณกรรม ที่สำคัญ เช่น บทละครเรื่องเงาะป่าไกลบ้าน และของพระยาศรีสุนทรโวหาร เช่นมูลบทบรรพกิจ อักษรประโยค


2) ศิลปกรรม ศิลปกรรมมักจะเป็นของไทยผสมกับยุโรป เช่น วัดเบญจมบพิตร พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น


3) ประติมากรรม เช่น พระบรมรูปทรงม้า พระพุทธชินราชจำลอง


4) จิตรกรรม มีภาพเขียนแบบตะวันตกที่เรียกว่า ภาพเขียนปูนเปียก และมีภาพจิตกรรมฝาผนัง


5) นาฏกรรม ละครแบบใหม่ในสมัยนี้ เช่น ละครพันทาง ละครดึกดำบรรพ์ เป็นต้น


รัชกาลต่อมา คือ รัชกาลที่ 6 ก็ได้พัฒนาประเทศด้วยการปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณี และความเจริญด้านศิลปะ และวัฒนธรรม ดังนี้


การปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณี


(1) การออกพระราชบัญญัตินามสกุล เพื่อประโยชน์ในการปกครองของประเทศ


(2) เปลี่ยนธงชาติจากธงช้าเผือกเป็นธงไตรรงค์


(3) ใช้ พ.ศ. ตามการนับถือพระพุทธศาสนา และเปลี่ยนการนับเวลาเป็น 1 นาฬิกา ถ้าหลังจากเที่ยงคืนไปแล้ว


(4) กำหหนดคำนำหน้าเด็กและสตรี


ศิลปวัฒนธรรม


1) สถาปัตยกรรม ศิลปะแบบไทยแห่งแรกที่ทรงสร้าง คือ พระราชวังสนามจันทน์ จังหวัดนครปฐม


2) ประติมากรรม ประติมากรรมแบบไทยแท้ เช่น รูปหล่อสัมฤทธิ์พระนางธรณีบีบมวยผม เป็นต้น


3) จิตรกรรม เป็นภาพเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับชาดก และพระมหากษัตริย์ไทย เช่น ภาพเขียนที่โดมพระที่นั่งอนันตสมาคม


4) วรรณกรรม อิทธิพลของตะวันตกมีมากขึ้น การเขียนร้อยกรองเปลี่ยนเป็นการเขียนร้อยแก้ว รูปแบบคำประพันธ์ก็เป็นแบบ ตะวันตกมากขึ้น


5) ศิลปกรรม พระองค์สนใจงานศิลปกรรมมากจึงได้จัดตั้งโรงเรียนเพาะช่างขึ้น เพื่อให้มีการสอนศิลปะไทยและศิลปะ ตะวันตก จิตรกรที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้คือ พระยาอนุศาสน์ เป็นผู้เขียนภาพสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในฝาผนังวัดสุวรรณดาราราม จังหัดพระนครศรีอยุธยา


6) นาฏกรรม โขน ละคร และดนตรี เจริญสูงสุดในสมัยนี้ เพราะพระองค์เชื่อว่านอกจากจะให้ความบันเทิงใจแล้ว ยังสามารถ ยกระดับจิตใจของมนุษย์ให้สูงขึ้น

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
แก้วที่คว่ำอยู่กลางสายฝนต่อให้ฝนตกกระหน่ำทั้งคืน ก็ไม่อาจเต็มไปด้วยน้ำคนที่ไม่ยอมเปิดใจเรียนรู้ ต่อให้คลุกคลีอยู่กับนักปราชญ์ทั้งคืนทั้งวันก็ยังโง่เท่าเดิมไม่มีคัยเข้าจัยนอกจากตัวเราเอง

ผู้ติดตาม