วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ศักราช

การนับศักราช1. การนับศักราชแบบไทยศักราช หมายถึง ปีที่กำหนดเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งซึ่งสำคัญมากสำหรับจดจารึกไว้ ศักราชที่มีกำหนดไว้มี คือพุทธศักราช (พ.ศ.) รัตนโกสินทร์ศก หรือ ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) คริสต์ศักราช (ค.ศ.) และมหาศักราช (ม.ศ.) ศักราชเหล่านี้เริ่มต้นนับแตกต่างกัน การที่จะเทียบศักราชได้จึงต้องนำเอาระยะต่างที่เริ่มนับมาบวกเข้าหรือลบออกดังนี้ ระยะเวลาที่ต่าง พุทธศักราช มากกว่า คริสต์ศักราช 543 ปี พุทธศักราช มากกว่า มหาศักราช 621 ปี พุทธศักราช มากกว่า จุลศักราช 1,181 ปี พุทธศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 2,324 ปี คริสต์ศักราช มากกว่า มหาศักราช 78 ปี คริสต์ศักราช มากกว่า จุลศักราช 638 ปี คริสต์ศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,781 ปี มหาศักราช มากกว่า จุลศักราช 560 ปี มหาศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,705 ปี จุลศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,143 ปี 1.1 พุทธศักราช(พ.ศ.) นิยมใช้ในประเทศที่มีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ โดยเริ่ม พ.ศ. 1 ปีที่พระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพาน เริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัยอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บางยุคสมัยต่อมาเปลี่ยนไปใช้ศักราชแบบอื่นบ้าง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ประกาศให้ใช้การนับศักราช พ.ศ.เป็นทางการ มาจนถึงปัจจุบัน1.2 มหาศักราช(ม.ศ.) เป็นศักราชที่พระเจ้ากนิษกะกษัตริย์อินเดียตอนเหนือคิดขึ้นมาใช้ เมื่อ พ.ศ.622 หลักฐานที่มีการใช้คือ หลักศิลาจารึก หลักที่ 1ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชการเทียบ ม.ศ. ให้เป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 621 (ม.ศ.+621 = พ.ศ.)การเทียบ พ.ศ. ให้เป็น ม.ศ. ให้ลบ ด้วย 621 (พ.ศ.- 621 = ม.ศ.)1.3 จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นสักราชที่กษัตริย์พม่าสมัยพุกามเป็นผู้ตั้งขึ้น ได้แพร่มาสู่ไทยสมัยอยุธยา ใช้ในการคำนวณทางโหราศาสตร์ พบมากในพงศาวดาร ตำนาน และจดหมายเหตุการเทียบ จ.ศ. ให้เป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 1181 (จ.ศ. + 1181 = พ.ศ.)การเทียบ พ.ศ. ให้เป็น จ.ศ. ให้ลบ ด้วย 1181 (พ.ศ. - 1181 = จ.ศ.)1.4 รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เป็นศักราชที่รัชกาลที่5โดยเริ่มนับร.ศ.1ปีที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์(พ.ศ. 2325)การเทียบ ร.ศ. ให้เป็น พ.ศ. ให้บวกด้วย 2325 (ร.ศ. + 2325 = พ.ศ.)การเทียบ พ.ศ. ให้เป็น ร.ศ. ให้ลบด้วย 2325 (พ.ศ. - 2325 = ร.ศ.)2. การนับศักราชแบบ สากล ชาวต่างประเทศที่เข้าในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา ได้บัทึกเรื่องราวที่ตนพบเห็นเป็นศักราชดังนี้ 2.1 คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เป็นศักราชของคริสต์ศาสนา เริ่มนับ ค.ศ. 1 เมื่อ พระเยซูประสูติ(ตรงกับพ.ศ. 544) 2.2 ฮิเราะห็ศักราช (ฮ.ศ) เป็นศาสนาของศาสนาของอิสลาม เริ่มนับ ฮ.ศ. 1 ในปีที่พระนบี มุฮัมหมัดศาสดาของศาสนาอิสลามหนีออกจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินา(ตรงกับ พ.ศ. 1123) การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์ไทย แบ่งเป็น 2 สมัย คือ 1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึงสมัยที่ยังไม่มีการใช้การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แบ่ง 2 ยุคย่อย คือ 1.1 ยุคหิน (ในดินแดนประเทศไทย)ยุคหินเก่า 700,000 - 10,000 ปีมาแล้ว พบเครื่องมือหินกรวดกระเทาะหน้าเดียว ที่อำเภอแม่ทะจังหวัดลำปาง, อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย, บ้านเก่าที่จังหวัดกาญจนบุรีและอำเภอเมืองจังหวัดกระบี่ยุคหินกลาง 10,000 - 4300 ปีมาแล้ว รู้จักประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผา ใช้เครื่องมือทำด้วยหินที่ประณีต รู้จักเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ฝังศพ แหล่งพบหลักฐาน ถ้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน , ถ้ำไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรียุคหินใหม่ 4300 - 2000 ปีมาแล้ว เครื่องมือทำด้วยหินขัด โดยตกแต่งให้ใช้งานดีขึ้นกว่าเดิมพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาให้ประณีตมากขึ้น เช่นทำแบบมีสามขา เขียนลวดลายและสีแหล่งค้นพบ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี, บ้านเชียงจังหวัดอุดรธานี, บ้านโนนนกทาจัหวัดขอยแก่น 1.2. ยุคโลหะ แบ่งย่อยเป็นยุคสำริด 3500 ปี - 2500 ปี รู้จักถลุงแร่นำมาผสมเรียกว่าสำริด คือทองแดงกับดีบุก เพื่อทำอาวุธและเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น มีด ขวาน หอก หัวลูกศร กลอง แหวน กำไร ฯลฯแหล่งค้นพบ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี , บ้านโคกพลับจังหวัดราขบุรียุคเหล็ก 2500 ปี - 1500 ปี มาแล้ว รู้จักถลุงเหล็กมาทำเป็นอาวุธและเครื่องมือเครื่องใช้แหล่งค้นพบ บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี , บ้านเชียง จ.อุดรธานี 2. สมัยประวัติศาสตร์ (ในประเทศไทย) เริ่มนับจากปีที่พ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์อักษรไทย การแบ่งสมัยประศาสตร์ของไทยแบ่งได้ 3 ลักษณะ 1. แบ่งตามราชอาณาจักรหรือราชธานี ได้แก่ สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ 2. แบ่งตามลักษณะการปกครอง คือสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช และสมัยประชาธิปไตย 3. แบ่งตามประสัติศาสตร์สากล คือสมัยโบราณ เริ่มก่อนสุโขทัย จนสิ้นสมัยรัชกาลที่ 3สมัยใหม่ (สมัยปรับปรุงประเทศ) เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงพ.ศ. 2475ปัจจุบัน ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 - ปัจจุบันวิธีการเทียบศักราชเช่น การคิดเทียบหา พ.ศ. พ.ศ. = ค.ศ. + 543 หรือ ค.ศ. = พ.ศ. - 543 พ.ศ. = ม.ศ. + 621 หรือ ม.ศ. = พ.ศ. - 621 พ.ศ. = จ.ศ. + 1,181 หรือ จ.ศ. = พ.ศ. - 1,181 พ.ศ. =ร.ศ. + 2,324 หรือ ร.ศ. = พ.ศ. - 2,324
เขียนโดย น.ส นิชนันท์ ถิ่นจะนะ

วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชาวันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 3 ประการ คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และปรินิพพานความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง 3 คราวคือ1. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติ ที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอก่อนพุทธศักราช 80 ปี2. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย3. หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ 45 ปี พระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดียนับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง 3 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลกพุทธศาสนิกชน ควรปฏิบัติตนและเข้าร่วมพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ดังนี้ตอนเช้าทำบุญตักบาตรที่วัด รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา และเจริญจิตภาวนาตอนค่ำประชาชรมาร่วมพิธีเวียนเทียนโดยมาพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถ ในขณะที่เวียนเทียนให้ระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นอกจากวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา 6 วัน ดังกล่าวแล้วยังมีวันธรรมสวนะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันพระ” เป็นวันขึ้น 8 ค่ำ แรม 8 ค่ำ วันขึ้น 15 ค่ำ แรม 15 ค่ำ หรือ 14 ค่ำ ของทุกเดือน เป็นวันที่ชาวพุทธมาบำเพ็ญกุศลให้กับตนเอง วันธรรมสวนะนี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาล ซึ่งถือเป็นวันบำเพ็ญกุศลของชาวพุทธทั่วไป การปฏิบัติตนวันธรรมสวนะ หรือวันพระ คือชาวพุทธที่ไปทำบุญที่วัดในวันพระ คือ เมื่อถึงวันพระ ชาวพุทธก็ไปทำบุญที่วัด เตรียมอาหารคาว หวาน จัดใส่ปิ่นโต พร้อมนำดอกไม้ ธูป เทียนบูชาพระประธานที่วัดชาวพุทธไปรักษาศีลอุโบสถ รักษาศีล 5 ศีล 8 จะค้างที่วัด ชาวพุทธจะไปรักษาศีลอุโบสถที่วัด นิยมสวมชุดสีขาว เพื่อระวังจิตใจของตนเองให้ขาวสะอาดบริสุทธิ์ เหมือนผ้าสีขาวที่ใส่หรือสวมชุดสุภาพเรียบร้อยวันวิสาขบูชานับว่าเป็นวันสำคัญสูงสุดในพระพุทธศาสนาเป็นวันที่ก่อให้เกิดพระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้พระธรรมและนำมาสั่งสอนแก่สรรพสัตว์ และพระสงฆ์สาวกผู้สืบพระศาสนาต่อมาจนถึงปัจจุบันในวันนี้พุทธศาสนิกชนต่างพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยการไปชุมนุมตามพระอารามต่าง ๆ เพื่อกระทำการบูชาปูชนียวัตถุอันได้แก่ พระธาตุเจดีย์หรือพระพุทธปฏิมา ที่เป็นพระประธานในพระอุโบสถอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยเครื่องบูชามีดอกไม้ ธูปเทียน เป็นต้น เริ่มด้วยการสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย ด้วยบทสวดมนตร์ตามลำดับดังนี้คือบทสรรเสริญ พระพุทธคุณ ด้วยบท " อิติปิโสภควา อรหังสัมมาสัมพุทโธ...พุทโธภควาติิ"บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ ด้วยบท " สวากขาโต ภควตาธัมโม...วิญญูหิติ"บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ ด้วยบท " สุปฏิปันโน ภควโตสาวกสังโฆ...โลกัสสาติ "จากนั้นก็จะกระทำ ประทักษิณ หรือที่เรียกว่า เวียนเทียน รอบพระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธปฎิมาในพระอุโบสถ ด้วยการเดินเวียนขวาสามรอบ รอบแรกจะสวดบทสรรเสริญพระพุทธคุณ รอบที่สองจะสวดบทสรรเสริญพระธรรมคุณ และรอบที่สามสวดบทสรรเสริญพระสังฆคุณ เมื่อครบ 3 รอบแล้วจึงนำดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธรูปในพระอุโบสถ ณ ที่บูชาอันควรเป็นอันเสร็จพิธีเวียนเทียนจากนั้นก็จะมีการแสดงพระธรรมเทศนาในพระอุโบสถ ซึ่งปกติจะมีเทศน์ ปฐมสมโพธิ ซึ่งเป็นเรื่องพระพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน พิธีเริ่มตั้งแต่ประชุมฟังพระทำวัตรสวดมนต์ แล้วจึงฟังเทศน์ซึ่งจะมีไปตลอดรุ่งวันวิสาขบูชาจึงเป็นวันที่พุทธศาสนิกชน ได้บำเพ็ญประโยชน์ตน และสืบต่อพระพุทธศาสนา ให้ดำรงคงอยู่อย่างถูกต้องตรงทาง เพื่อประโยชน์สุขของตนและของผู้อื่นตลอดชั่วกาลนาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
แก้วที่คว่ำอยู่กลางสายฝนต่อให้ฝนตกกระหน่ำทั้งคืน ก็ไม่อาจเต็มไปด้วยน้ำคนที่ไม่ยอมเปิดใจเรียนรู้ ต่อให้คลุกคลีอยู่กับนักปราชญ์ทั้งคืนทั้งวันก็ยังโง่เท่าเดิมไม่มีคัยเข้าจัยนอกจากตัวเราเอง

ผู้ติดตาม